กิจกรรมป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2564 ขึ้นภายใต้แนวคิด สืบฮีต โตยฮอย เมืองเจียงใหม่ 725 ปี๋
จังหวัดเชียงใหม่จัดงานฉลองสงกรานต์ สืบฮีต โตยฮอย เมืองเจียงใหม่ 725 ปี๋”……….องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงใหม่ และองค์กรภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2564 ขึ้นภายใต้แนวคิด สืบฮีต โตยฮอย เมืองเจียงใหม่ 725 ปี๋ เพื่อเป็นการสืบทอด อนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีมนต์เสน่ห์ของชาวล้านนา ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-18 เมษายน 2564 ณ ข่วงประตูท่าแพ ……….เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564 เวลา 18.00 น. ณ ข่วงประตูท่าแพ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดงานแถลงข่าวการจัดงาน “ประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่ ประจำปี 2564” โดยมีผู้เข้าร่วมในงานแถลงข่าว ดังนี้…..
1.นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึง ภาพรวมการจัดงานประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่…..
2.นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึง การสนับสนุนการจัดงานประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่…..
3.นางนุสรา ยันตรโกวิท ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ได้กล่าวถึง การจัดกิจกรรมในงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2564….
4.พ.ต.อ.เจน โสภา ผู้กำกับการกลุ่มงานจราจร ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึง การดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกบนเส้นทางจราจร….
5.นายเสน่ห์ สายเย็นใจ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึง การส่งเสริมและสืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมล้านนา…..
6.นางสาวภัคนันท์ วินิจชัย ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึง การประชาสัมพันธ์…..
7.นายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ (นายแพทย์จตุชัย มณีรัตน์) ได้กล่าวถึง การจัดงานประเพณีสงกรานต์ภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดฯ……….องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้สนับสนุนกิจกรรมที่สอดคล้องกับป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13-18 เมษายน 2564 ณ ข่วงประตูท่าแพ ได้แก่…..- พิธีเปิดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2564…..- การประกวดเทพีสงกรานต์ ประจำปี 2564 …..- กิจกรรมสืบฮีต สานฮอย วิถีแห่งภูมิปัญญาล้านนาเชียงใหม่ อาทิ การแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา , การประกวดศิลปะนาฎยมวยไทยล้านนา, การประกวดตีกลองพื้นบ้าน เช่น กลองมองเซิง กลองตึงโนง กลองปูจา…..- ซุ้มนิทรรศการ และการสาธิต การจำลองวิถีชีวิต ภูมิปัญญาในอดีตนำเสนอภาพลักษณ์ “ด้านอาหารพื้นบ้าน งานหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน สืบฮีต สานฮอย ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ” จำนวนมากกว่า 20 ซุ้มอาทิ
1.สาธิตการทำตุงไส้หมู
2.สาธิตการทำตุงสิบสองราศี
3.สาธิตการทำเครื่องเขิน
4.สาธิตการเพ้นท์พัด เพ้นท์ร่ม
5.สาธิตการทำเครื่องสักการะล้านนา
6.สาธิตการดาคัวดำหัว
7.สาธิตการเขียนอักษรล้านนา
8.สาธิตการสีเทียนน เสดาะเคราะห์ปีใหม่เมือง
9.สาธิตการทำต๋าแหลว และเครื่องจักสานจากไม้ไผ่
10.สาธิตการทำเครื่องหอมแบบล้านนา
11.สาธิตการทำดอกไม้ไหว
12.สาธิตการทำเครื่องเงิน ดุลโลหะ
13.สาธิตการละเล่นล้านนา (ม้าจกคอก/เล่นหมากกอน)
14.สาธิตการทำขนมจ๊อก
15.สาธิตการทำข้าวแคบ
16.สาธิตการทำขนมลิ้นหมา
17.สาธิตการทำข้าวแต๋นน้ำอ้อย
18.สาธิตการทำแกงขนุน/ตำขนุน
19.สาธิตการทำอาหารล้านนา
20.สาธิตการทำขนมวงน้ำอ้อย
ทั้งนี้ ได้จัดให้มีจุดคัดกรองตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดจากเชื้อ โควิด-19 และทำความสะอาดพื้นที่ก่อนและหลังการจัดงานโดยให้มีเจ้าหน้าที่ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ และทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัส เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ประชาชน นักท่องเที่ยวที่มาร่วมงาน